Last updated: 16 มิ.ย. 2567 | 684 จำนวนผู้เข้าชม |
จากการคาดการณ์ว่าสถานการณ์การแข่งขันด้านราคาในตลาดรถยนต์ EV ที่รุนแรงขึ้นอาจกลายเป็น Game Changer ที่กระทบตลาดรถยนต์ทั่วโลก และผลักดันให้ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าใกล้เคียงกับรถยนต์สันดาปภายในภายในอีก 3-4 ปีข้างหน้า “finbiz by ttb” ได้ออกบทวิเคราะห์แนะนำผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า สถานีบริการน้ำมัน และตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ให้ขยับตัวรองรับเทรนด์อีวี โดยใช้แนวคิด ESG มาพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
บทวิเคราะห์ดังกล่าว finbiz by ttb นำเสนอในหัวข้อ “แนวคิด ESG ผลักดัน EV Car พุ่ง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์จะปรับตัวอย่างไร” โดยรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์และเจาะประเด็นไว้ดังนี้
EV Car เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก
อย่างในไทยปี 2023 นี้ EV Car จะโต 3 เท่า แตะ 4 หมื่นคัน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินการแข่งขันในตลาดรถยนต์ EV (Electric Vehicle : EV) ทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เพราะผู้ผลิตหลายรายปรับลดราคาขายลงเฉลี่ย 2-10% กระตุ้นให้ผู้คนหันมาสนใจ EV Car อย่างรวดเร็ว
ในไทยเองก็มียอดจดทะเบียนรถ EV เพิ่มขึ้นถึง 17 เท่าภายในเวลาเพียง 3 ปี และคาดว่าในปี 2023 นี้ยอดจดทะเบียนรถยนต์นั่ง EV จะสูงถึง 40,812 คัน หรือขยายตัว 321.7% ส่วนหนึ่งจากแรงสนับสนุนของภาครัฐที่ตั้งเป้าให้ไทยผลิตรถยนต์ EV ให้ได้ 30% ภายในปี 2030 ซึ่งในระยะเริ่มต้น ไทยต้องนำเข้าจากจีนมาจำหน่ายในประเทศเป็นหลัก ก่อนจะสามารถผลิตเพื่อรองรับความต้องการในประเทศได้ช่วงปี 2024 - 2025 ฃ
การผลิตเพื่อส่งออกอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 3 - 5 ปี ดังนั้นค่ายรถที่จะลงทุนตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ EV ในไทยจึงจำเป็นต้องบุกภาคธุรกิจมากขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้มากพอให้ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น
สถานการณ์ของ EV Car ทั่วโลกก็เติบโตเช่นกัน การคาดการณ์ของ BloombergNEF คาดว่า ในปี 2026 EV Car จะมีราคาเทียบเท่ารถยนต์สันดาป ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น การลดต้นทุนแบตเตอรี่ และการขยายกำลังการผลิตให้ได้ Economy of scale ของเหล่าผู้ผลิต ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปสู่รถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มตัว
ทิศทางของอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อ EV Car เติบโต
การแข่งขันด้านราคาในตลาดรถยนต์ EV ที่รุนแรงขึ้น อาจจะกลายเป็น Game Changer กระทบตลาดรถยนต์ทั่วโลก โดยมีสาเหตุดังนี้
1) ความน่าสนใจในรถยนต์สันดาปลดลง (Internal Combustion Engine: ICE)
ปัจจุบัน รถยนต์ EV เป็นเหมือน “เครื่องใช้ไฟฟ้าติดล้อ” ซึ่งมีหัวใจหลักที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ “แบตเตอรี่ไฟฟ้า” และ “เทคโนโลยี” ในขณะที่รถสันดาป (ICE) มีความโดดเด่นเฉพาะตัวแตกต่างไป ตามแต่ละแบรนด์และประเภทของเครื่องยนต์ ซึ่งอาศัยการบำรุงรักษามากกว่า และด้วยการแข่งขันของผู้ผลิตที่รุนแรงขึ้น ทำให้ความน่าสนใจในแบรนด์รถดั้งเดิมที่ยังคงจำหน่ายรถยนต์สันดาปอาจ ลดน้อยลงไป
2) แบรนด์รถดั้งเดิมที่ปรับตัวได้ช้า อาจค่อย ๆ หายไป
เมื่อลูกค้ามอง EV Car ไม่ต่างอะไรจาก “สินค้าเทคโนโลยี” ที่มีการตกรุ่นไปตามยุคสมัย อาจทำให้รถรุ่นเก่ากว่ามีโอกาสตกรุ่นเร็วขึ้น เปรียบได้กับยุคที่เปลี่ยนผ่านจาก “มือถือ” สู่ “สมาร์ทโฟน” ที่ ทำให้เจ้าตลาดมือถือยักษ์ใหญ่ของโลกในรุ่นก่อนค่อย ๆ หายไปจากตลาด และมาสู่ยุคที่เจ้าตลาดเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนแทน ในอุตสาหกรรมก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน
3) ราคารถที่ปรับลงไม่เพียงกระทบตลาดรถมือหนึ่ง แต่ยังดึงราคารถมือสอง
จากการทยอยเปิดตัวรถยนต์นั่งไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่มีแนวโน้มจะขายถูกลง ซึ่งสร้างแรงกดดันอย่างมากต่อตลาดรถยนต์ในหลายกลุ่ม โดยเฉพาะตลาดรถหรู หรือแม้แต่ค่ายญี่ปุ่นและจีนในระดับ C และ D Segment ที่มีราคาขายใกล้เคียงกัน จนทำให้อุปทานรถยนต์นั่งมือสองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทำไมแนวทาง ESG จึงผลักดัน EV Car ให้ยิ่งเติบโตเร็วขึ้นอีก
เพราะทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการออกทั้งกฎหมายและนโยบาย เพื่อผลักดันเรื่อง ESG ให้เป็นวาระโลกและวาระแห่งชาติ อาทิเช่น
โดยรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV Car) เข้ามาตอบโจทย์กระแสดังกล่าวครบถ้วนทั้งกระบวนการผลิตและใช้งาน โดยจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์เทียบกับรถยนต์สันดาป (Internal Combustion Engine : ICE Car) ได้กว่า 40% ทำให้การเติบโตเฉลี่ยต่อปีของ EV Car อยู่ในระดับมากกว่า 30% ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในระดับสูงเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น และการขยายกำลังการผลิตจนได้ Economy of scale
อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเปลี่ยนแปลง ผู้ประกอบการจึงต้องเร่งปรับตัว
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า เรากำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคที่ ESG เข้ามามีบทบาท และยังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ EV Car เติบโตอย่างรวดเร็ว กระทั่งว่าอาจเป็นไปได้ที่เข้ามาแทนรถยนต์สันดาปในที่สุด หากไม่มีปัจจัยอื่น ๆ เข้ามาแทรกแซง ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรจะเร่งหาโอกาสใหม่ โดย finbiz by ttb ได้วิเคราะห์ถึงกลุ่มที่จะอาจหาโอกาสใหม่ ๆ ได้ ดังนี้
ส่งเสริมให้องค์กรมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ในปัจจุบันที่ทั้งภาครัฐสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาแนวคิด ESG รวมถึงภาคของผู้บริโภคก็ให้ความสนใจกับองค์กรที่ใส่ใจด้านความยั่งยืนของโลก ภาคธุรกิจจึงต้องเร่งนำแนวคิด ESG มาพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
หนึ่งในนั้นคือการใช้พลังงานหมุนเวียน การติดตั้ง solar rooftop ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง ttb ขอแนะนำ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี (ttb solar rooftop solution) ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเงินกู้ระยะยาว เพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี สนับสนุนเงินลงทุนเพื่อติดตั้งและบำรุงรักษาโซลาร์รูฟท็อป พร้อมด้วยพันธมิตรดูแลแบบครบวงจร เริ่มต้นจากช่วยจัดหาผู้ติดตั้งที่มีความชำนาญสูงและมีประสบการณ์ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปให้กลุ่มธุรกิจชั้นนำในประเทศไทย โดยสินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ทีทีบี มีจุดเด่นดังนี้