Last updated: 25 ก.ย. 2567 | 299 จำนวนผู้เข้าชม |
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายนต์ 2567 มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (มาตรการ EV3) ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอตามาตรการ EV3 ตามประกาศกรมสรรพสามิต เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 มีรายละเอียดดังนี้
1) กรณีรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับ
- เงินอุดหนุน 70,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่น้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง
- เงินอุดหนุน 150,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป
(2) กรณีรถยนต์กระบะ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท/คัน เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศและมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)
(3) กรณีรถจักรยานยนต์ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาท/คัน สำหรับรถจักรยานยนต์ประเภท BEV
ที่ผ่านมามีรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 จำนวน 90,380 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้
ประเภท | ช่วงระหว่างปี 2565 ถึงมกราคม 2567 | |
จำนวน (คัน) | เงินอุดหนุน (ล้านบาท) | |
รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาท | 1,166 | 81.62 |
รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท | 77,499 | 11,624.85 |
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาท | 11,715 | 210.87 |
รวม | 90,380 | 11,917.34 |
ทั้งนี้ การดำเนินการตามมาตรการ EV3 จะต้องใช้เงินอุดหนุน รวมทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท ซึ่ง กค. ได้รับงบประมาณไปแล้ว 6,947.78 ล้านบาท ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 5,901.19 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3) และได้เบิกจ่ายเพิ่มเติมอีก จำนวน 996.62 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันยังคงเหลือที่ได้ไม่รับการจัดสรรรงบประมาณอีก จำนวน 5,019.53 ล้านบาท (11,917.34 – 6,897.81) ประกอบกับ กค. คาดว่าจะสามารถจำหน่ายและจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 แจ้งข้อมูลต่อกรมสรรพสามิตว่ามีความพร้อมสำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป
หากสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้แล้วก็จะขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์อีกจำนวน 16,500 คัน วงเงิน 2,475 ล้านบาท จึงทำให้ กค. ต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการ EV3 รวมทั้งสิ้น 7,494.53 ล้านบาท ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาทแล้ว
ทั้งนี้ มาตรการ EV3 จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีราคาลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายในและช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค เป็นการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะ