Last updated: 29 ส.ค. 2567 | 661 จำนวนผู้เข้าชม |
ACE บริษัทในกลุ่ม ปตท. จับมือ CATL อัพเลเวลสถานีชาร์จรองรับ Super-fast charging ระดับ 4C – 6C ด้วยการติดตั้งระบบ BESS ร่วมกับ Solar system เพื่อลดการใช้งานพลังงานจาก Grid และเพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้าในสถานีชาร์จ
หลังจาก ปตท. ประกาศแผนกลยุทธ์ใหม่ “ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยั่งยืน” เร่งเสริมแกร่งธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็น Core Business เพื่อรักษาตำแหน่งผู้นำในธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีก โดยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ EV ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้านั้น
ล่าสุดบริษัท เอ ซี เอนเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด A C Energy Solution (ACE) และ Contemporary Amperex Technology Co., Ltd. (CATL) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อศึกษาและพัฒนาระบบนิเวศพลังงานไทย ณ สำนักงานใหญ่ CATL เมืองหนิงเต๋อ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ (ซ้ายบน) ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) พร้อมด้วย Mr. LiBin Tan (ขวาบน) Chief Customer Officer & Co-President of the Market System CATL นายเอกชัย ยิ้มสกุล (ซ้ายล่าง) กรรมการผู้จัดการ ACE และ Mr. See Tzu Cheng (ขวาล่าง) General Manager of APAC & Strategic Projects CATL ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ซึ่งประเด็นสำคัญของข้อตกลงครั้งนี้ประกอบด้วย
กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) จากนโยบายการสนับสนุนการใช้งานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ทำให้ปริมาณการใช้ EV มีการเติบโตอย่างเนื่อง โดยปัจจุบัน ACE และ CATL ได้มีความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบ EV battery pack โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำจาก CATL และ EV value chain จากกลุ่ม ปตท. โดยมุ่งเน้นการผลิต ประกอบ battery pack ที่มีประสิทธิภาพสูง
นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังมีแผนในการศึกษาการพัฒนา ระบบ green factory เพื่อรองรับ Net Zero ในอนาคต เพื่อลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้การพัฒนาระบบ Green factory โดยการนำ Renewable energy และ ระบบ battery มาประยุกต์ใช้ ยังสามารถต่อยอดธุรกิจไปได้หลากหลายด้าน ทั้ง PPA และ Private PPA ภายในประเทศในอนาคตอันใกล้
กลุ่มการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging) การเติบโตอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้า จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชาร์จไฟได้สะดวกและรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสถานีชาร์จปัจจุบันยังพึ่งพาระบบโดยทั้งหมดจากการไฟฟ้า ทำให้เกิดปัญหาในหลายมิติ อาทิเช่น Grid stability , Low priority power เป็นต้น
โดยความร่วมมือดังกล่าวจะร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการพลังงานในสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการติดตั้งระบบ BESS ร่วมกับ Solar system เพื่อลดภาระการใช้งานพลังงานจาก Grid เพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้าในสถานีชาร์จ โดยการจัดการกับความผันผวนของการใช้พลังงานและลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงาน และรองรับการชาร์จเร็ว (Super-fast charging) ได้ถึง 4C – 6C เป็นต้น
กลุ่มระบบกักเก็บพลังงานและพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงานของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือนี้มุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเก็บและจัดการพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม และนำมาใช้ในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูง
ระบบ ESS นี้จะช่วยลดการสูญเสียพลังงานและเพิ่มความเสถียรของระบบไฟฟ้า และลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานในช่วงเวลาที่มีค่าไฟฟ้าสูง (peak hours) โดยการใช้พลังงานที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่แทน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานและลดภาระการใช้พลังงานจาก Grid นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือในการศึกษาการสร้าง ESS production line และ Battery cell production line เพื่อรองรับการเติมโตและเป็นการสนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย
กลุ่มระบบการขนส่ง การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช้แค่รองรับรถยนต์ส่วนบุคคลเท่านั้น การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ (Smart City) มีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับการขนส่งที่ยั่งยืน (Sustainable Transportation) เนื่องจากการขนส่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันและมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความมือดังกล่าวได้ร่วมศึกษาพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน เทคโนโลยี การวางแผนเมืองโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้รองรับการขนส่ง อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิเช่น ระบบบริหารจัดการพลังงาน ระบบการชาร์จ ระบบ renewable energy ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ที่มา : ArunPlus