X

รมว.อุตสาหกรรม หารือผู้บริหารบ้านปู และ svolt ในประเด็นนโยบายผลิตเซลล์แบตเตอรี่ และอุตสาหกรรมรีไซเคิลแบตเตอรี่ EV

Last updated: 2 มี.ค. 2567  |  645 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รมว.อุตสาหกรรม เผยกอน.เตรียมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular รองรับการรีไซเคิลแบตเตอรี่ EV

รมต.พิมพ์ภัทรา ร่วมหารือผู้บริหารบ้านปู และเอส โวลต์ เอเนอร์จี้ ในประเด็นนโยบายการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ เตรียมต่อยอดอุตสาหกรรมรีไซเคิลแบตเตอรี่ EV พร้อมเผยนิคมอุตสาหกรรม Circular ที่กนอ.กำลังเตรียมการจัดตั้งสามารถรองรับได้

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมหารือกับนางสมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และนายหยาง หงซิน ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (svolt energy) ในประเด็นนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในประเทศไทย โดยมีนายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นางบุปผา กวินวศิน รองผู้ว่าการ (สำนักผู้ว่าการ) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายชัยวิชิต ลิขิตาภรณ์ ผู้อำนวยการกองกำหนดมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายพลาวุธ วงศ์วิวัฒน์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมด้วย ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ ชั้น 3 อาคารสำนักงานกระทวงอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567


ประเทศไทยมีนโนบาย EV 3.5 ในช่วงเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567 – 2570) เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และผลักดันไทยก้าวสู่การเป็นฐานผลิตชั้นนำของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค พร้อมเตรียมต่อยอดอุตสาหกรรมรีไซเคิลแบตเตอรี่ EV มุ่งขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทฯ มั่นใจพร้อมที่จะลงทุนในประเทศไทย ในตอนท้ายรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวถึงการเตรียมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular ซึ่งสามารถรองรับอุตสาหกรรมรีไซเคิลแบตเตอรี่ EV ได้ โดยให้บริษัทฯประสานกับการนิคมฯ ต่อไป


ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรม Circular เป็นการนำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพึ่งพาอาศัยกันของภาคอุตสาหกรรม (Industrial Symbiosis) มาใช้ในการส่งเสริมและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อลดการเกิดของเสียให้น้อยที่สุดและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ที่มา : กระทรวงอุตสาหกรรม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้