Last updated: 15 Aug 2023 | 825 Views |
สถาบันยานยนต์เชื่อมั่นไทยยังมีโอกาสที่ดีในอุตสาหกรรมยานยนต์ ชูจุดแข็งเรื่อง ICE และการสนับสนุนของภาครัฐ ระบุ EV และยานยนต์พลังงานใหม่มาแน่ แต่มีคู่แข่งมากและการแข่งขันรุนแรง ผู้ผลิตในไทยต้องทำตัวให้แข็งแรงขึ้น ต้องอัพสกิลและรีสกิลให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้งด้านการผลิตและเทคโนโลยีของตัวโพรดักส์ รวมทั้งต้องมีการทำ R&D มากขึ้น
กระแสความตื่นตัวในเรื่อง Carbon Neutrality ที่รัฐบาลไทยมีนโยบาย 30@30 ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะผลิตรถ ZEV หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 ทำให้ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนการใช้รถ EV จนทำให้ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเติบโตในไทยแบบก้าวกระโดด
แน่นอนว่าการเติบโตอย่างรวดเร็วของยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ BEV ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่าจะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
อย่างไรก็ตาม คำถามดังกล่าวดูเหมือนจะหาคำตอบได้จากงานสัมมนา AUTOMOTIVE SUMMIT 2023 พลิกโฉมอนาคตอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้าน EV และความเป็นกลางทางคาร์บอนจากภาครัฐ ค่ายรถยนต์ สถาบันทางวิชาการ ฯลฯ ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้มากมาย เมื่อวันที่ 21 มิถนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (บางนา)
ทีมงาน EV-ROADS ได้เรียบเรียงการบรรยายของ ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ ในหัวข้อ Thai Perspectives in the world’s Automotive Arena ที่ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกในยุคที่ต้องควบคุมการปล่อย CO2 นั้น ส่งผลต่อประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนอย่างไร...และไทยควรปรับตัวไปในทิศทางใด มาดูคำตอบกัน...
ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์โลก
อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก ปีที่ 2565 มียอดขายรถยนต์ 81 ล้านคัน คาดว่าปี 2566 นี้ มียอดขายประมาณ 86 ล้านคัน โตกว่าปีที่แล้ว 6% มีการคาดการณ์อีก 2-3 ปีข้างหน้า ประมาณ 2025 จะมียอดขายรถประมาณ 94-95 ล้านคัน โตจากปัจจุบันประมาณ 10.5%
การที่อุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกอยู่ในทิศทางที่เติบโตขึ้น จะเห็นว่าถนนทุกสายของอุตสาหกรรมโลกมุ่งสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ และยานยนต์ไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรี่อย ๆ
ตลาดใหญ่ของยานยนต์ คือ จีน อเมริกา และญี่ปุ่น ถ้าคาดการณ์ไปไกล ๆ ปี 2030 ตลาดยานยนต์โตเฉลี่ยประมาณ 3.8% ต่อปี ในที่สุดจะมีตลาดยานยนต์ในโลกอย่างน้อย 110 ล้านคัน ต้องยอมรับกระแสตอนนี้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า 100% (BEV) มาแรงจริง ๆ เติบโตเฉลี่ยต่อปีประมาณ 17.5% ตามที่ประมาณการจากปีที่แล้ว ยอดขายทั้งโลกเติบโต 7 ล้านคัน เป็น 28 ล้านคัน ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ที่ไม่ใช่ BEV โตประมาณ 1.3%
จะเห็นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์มีอนาคตสดใสในบ้านเรา ในแง่ของการผลิต ประเทศที่ผลิตและใช้มากที่สุดคือประเทศจีน รองลงมาเป็นอเมริกา ส่วนไทยเราไม่น้อยหน้า อยู่อันดับ 10 ของโลก เป็นที่ 1 ของอาเซียน ปีที่แล้วประเทศไทยผลิตรถยนต์ได้ 1,880,000 คัน ปีนี้ประมาณการณ์เกือบ 2 ล้านคัน ถือว่าตลาดปีนี้น่าจะสดใสอยู่
อย่างไรก็ตาม 2 ปี หลังประเทศอินโดนีเซียผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก และพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 11 และมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ดีมากๆ จากปี 2018 อยู่อันดับที่ 18 ใช้เวลาไม่กี่ปีขึ้นมาเป็นที่ 11 ของโลก ผลิตรถได้ประมาณ 1,500,000 คัน จ่อไทยอยู่พอสมควร ตรงนี้เป็นสัญญานให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัว
ศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปัจจุบัน
ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเราเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนนี้ผลิตเกือบ 2 ล้านคัน ปีหน้าจะเห็นรถ EV มีการผลิตในประเทศไทยมากขึ้นเรี่อยๆ ถ้าเป็นไปตามเป้าหมาย 30@30 ของรัฐบาล ที่จะมีการผลิตรถยนต์ Zero Emission Vehicle (ZEV) 30% ในปี 2030 จะทำให้มีรถไฟฟ้า 100% ประมาณ 7 แสนกว่าคัน ถ้าเป็นไปตามแผน ประเทศไทยจะผลิตรถเพิ่มขึ้นไปอีก ประมาณ 2,500,000 คัน ตรงนี้เป็นภาพรวม positioning ไทยเราในตลาดโลก
ประเทศไทยผลิตรถยนต์เป็นที่ 10 ของโลก ด้านการส่งออกรถยนต์เป็นที่ 11 มี 20 ผู้ประกอบการ assembler ที่เป็นแพสเซนเจอร์คาร์ และปิกอัพ มี 10 ราย ที่เป็นผู้ประกอบรถยนต์ขนาดใหญ่ มีกำลังผลิตรถยนต์รวมอยู่ประมาณ 3 ล้านคันต่อปี
รถมอเตอร์ไซค์ ประเทศไทยผลิตเป็นที่ 5 ของโลก และเป็นที่ 5 ในด้านการส่งออก และมี assembler อยู่ประมาณ 18 ราย มีกำลังผลิตมอเตอร์ไซค์รวม ประมาณ 3 ล้านคันต่อปี ตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังเป็นผู้นำในอาเซียนอยู่จนปัจจุบันนี้
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย
ประเทศไทยมีการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์จำนวนมาก ในโลกมีการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ประมาณ 3-4 ล้านล้านเหรียญ อันดับ 1 คือประเทศเยอรมัน รองลงมาเป็นจีน ถ้าดูจากยอดรวมทั้งหมด ประเทศไทยส่งออกเป็นอันดับที่ 15 ในด้านของการส่งออก Auto maker assembler ทั้งมอเตอร์ไซค์ รถยนต์ และออโต้พาร์ท ส่งออกประมาณ 47,000 ล้านเหรียญ
ในเชิงของการนำเข้า ประเทศอเมริกานำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์มากเป็นอันดับ 1 ประเทศไทยส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ปีละ 26,000-27,000 ล้านเหรียญ ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของชิ้นส่วนยานยนต์ไทย คือ อเมริกา เป็นพวกเอ็นจิ้นพาร์ท และยาง จริงๆแล้วอเมริกาเป็นประเทศที่ซื้อโพรดักส์ออโตโมทีฟเกี่ยวกับยานยนต์มากพอสมควร นอกจากนั้นไทยเราก็มีส่งออกไปเยอรมันและจีน
ประเทศไทยนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอันดับ 25 ของโลก โดยรวมในเรื่องของการเทรด ไทยเกินดุล นั่นคือส่งออก 46,000 ล้านเหรียญ นำเข้า 20,000 พันล้านเหรียญ เรายังเหลือเป็นเทรนดเซอร์พลัสอยู่ประมาณ 26,000-27,000 ล้านเหรียญ ถือว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ Contribute ในเรื่องของ net total trade ให้กับประเทศอยู่อย่างมาก
ถ้าดูเป็นรายประเทศ ภาพรวมทุกโปรดักส์ ประเทศอเมริกาซื้อจากไทยมากที่สุด แต่จะซื้อเยอะในเชิงของออโต้พาร์ท รองลงมาเป็นออสเตรเลีย ซื้อมากในรูปแบบคาร์ ทั้งรถปิกอัพ และรถเก๋ง ถัดไปเป็นอาเซียน
ศักยภาพด้านการส่งออกรถยนต์
ปี 2022 ไทยส่งออกแพสเซนเจอร์คาร์ 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งออกไปออสเตรเลียอันดับ 1 รองลงมาเป็นเวียดนาม ถ้าดูดีๆ ตลาดส่งออกหลักมีออสเตรเลีย โอเชียเนีย คือออสเตรเลียรวมกับนิวซีแลนด์ อาเซียน และมิดเดิ้ลอีสต์
ส่วนของปิกอัพ ออสเตรเลียถือว่าโดดเด่น ไทยส่งออกไปออสเตรเลีย 37% ของการส่งออกทั้งหมด ที่เหลือเป็นอาเซียน กับมิดเดิ้ลอีสต์ ดังนั้นตลาดหลักก็คือโอเชียเนีย อาเซียน และมิดเดิ้ลอีสต์
มอเตอร์ไซค์ ไทยส่งออกบิ๊กไบค์เยอะ ส่งออกไปตลาดยุโรป เบลเยี่ยม ยูเครน และประเทศจีน ในส่วนของพาร์ทมอเตอร์ไซค์ไทยส่งออก 21,000 ล้านเหรียญ ตลาดใหญ่อยู่ที่อเมริกา และญี่ปุ่น ที่เหลือก็จะเป็นอาเซียน
ประเทศไทยเรามีนโยบาย 30@30 แต่ต้องการขาย 50@30 ต้องการขายรถไฟฟ้า 50% ในประเทศ และมีส่วนหนึ่งต้องส่งออก
ในเชิงนโยบาย ออสเตรเลียบอกว่าในปี 2030 จะซื้อ 50@30 แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น EV ทั้งหมด ในอนาคตปี 2030 การผลิตรถยนต์ไม่ได้เป็น ZEV หรือ BEV ไปทั้งหมด ยังมีรูมสำหรับเครื่องยนต์ประเภทอื่นๆ เพียงแต่ว่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) อาจจะไม่ใช่ ICE แบบเดิมแล้ว ต้องเป็นเครื่องยนต์สันดาปที่สะอาดขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถ้าปล่อยคาร์บอน ที่ 100 Kg CO2 อย่างน้อยต้องเป็นเครื่องยนต์ไฮบริด แต่ถ้าเป็นปลั๊กอินไฮบริด คาร์บอนที่ปลดปล่อยไปจะเหลือไม่กี่สิบ Kg CO2 ทิศทางในอนาคตรถ ICE ในบ้านเราจะเป็นประเภทไฮบริดมากขึ้น แน่นอนต้องมีรถยนต์สันดาปที่ทำงานร่วมกับอิเล็กทริกซิสเต็มเข้าไปอยู่ในนั้นด้วย
ทิศทางตลาดยานยนต์ไทยอยู่ที่โอเชียเนีย อาเซียน และมิดเดิ้ลอีสต์
ประเทศออสเตรเลียมีการเติบโตของการนำเข้าแพสเซนเจอร์คาร์ แต่จากไทยส่งออกลดลง ตอนนี้จีนเป็นผู้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของโลก และนำหน้าในเรื่องของรถอีวี เป็นเทคโนโลยีหลักในการนำตลาดส่งออก จีนโดดเด่นมากในออสเตรเลีย และมีการเติบโตมากๆ
ตอนนี้ในเมืองไทยก็มีการลงทุนในเรื่องของ ZEV มากขึ้น และมีค่ายรถจีนมาลงทุนในไทยมากขึ้น ก็เป็นโอกาสในอนาคตเราจะมีการส่งออก และอาจจะตีตื้นขึ้นบ้าง ถ้าผู้ผลิตรถอีวีในไทยเลือกทำตลาดที่ออสเตรเลีย โดยใช้ฐานการผลิตที่ประเทศไทย น่าจะเป็นโอกาสที่จะทำให้เรามี Positon ในเรื่องแพสเซนเจอร์คาร์
ด้านของการส่งออกปิกอัพไทยยังเป็นที่ 1 อยู่ ต้องยอมรับว่าดูเหมือนสัดส่วนจะลดลง ตอนนี้มีคู่แข่งมากขึ้นเรี่อย ๆ แต่อยู่ที่นโยบายของบริษัทแม่ด้วยว่าจะวาง Positon ว่าเอารถจากที่ไหน ส่งออกไปที่ไหนอย่างไร
การผลิตรถยนต์ในอาเซียน อินโดนีเซีย ผลิตรถปีละ 1,500,000 คัน เป็นอันดับที่ 11 ของโลก รองจากไทย การผลิตรถ 1 ล้าน 5 แสนคัน ใช้ในประเทศประมาณ 1 ล้านคัน ส่งออกประมาณ 4-5 แสนคัน ไทยผลิตประมาณ 2 ล้าน ใช้ในประเทศประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านคัน ส่งออกประมาณ 1 ล้านคัน เทียบในแง่การส่งออกเราดีกว่า ตลาดในประเทศอินโดนีเซียแข็งแรงกว่าเพราะมีประชากรมากกว่า
ตอนนี้ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ยังเป็นผู้ซื้อที่สำคัญของไทย ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงโควิด อาจมีคอนดิชั่นที่ผิดปกติ รถไทยอาจจะมีซีสเต็มเยอะ ต้องใช้สมองกลเยอะ ปีที่แล้วเรามีปัญหาในเรื่องของซัพพลายเชน อย่างชิปขาดตลาด ทำให้ไม่สามารถส่งรถที่ไฮเทคขึ้นหน่อยได้ ส่วนอินโดนีเซียจะผลิตรถโลว์คอสกว่าไทยนิดนึง หวังว่าปีนี้ยอดส่งออกของไทยจะกลับมา เพราะสถานการณ์เซมิคอนดักเตอร์ดีขึ้น
ยอดส่งออกปิกอัพ ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ส่งออกไปฟิลิปปินส์ และเวียดนาม แต่อินโดฯ ก็ตีตลาดอยู่พอสมควร ที่เวียดนาม สถานการณ์คล้ายๆ กัน ไทยเราส่งออกไปเยอะ แต่ช่วง 1-2 ปีที่แล้วอินโดฯมาแรงจริงๆ แม้กระทั่งปิกอัพก็เช่นเดียวกัน
ในอดีตอินโดฯเองก็มีซื้อรถยนต์จากไทยเราบ้าง สมัยก่อนก็มีซื้อแพสเซนเจอร์คาร์จากไทยเยอะ แต่ตอนนี้อินโดฯขยายการผลิตในประเทศเยอะ ก็มีญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ไปตั้งฐานการผลิต ทำให้การแข่งขันในตลาดยานยนต์โดยเฉพาะในอาเซียนก็ไม่ธรรมดา แม้ไทยจะเป็นที่ 1 แต่เราอยู่เฉยๆไม่ได้แล้ว
มิดเดิ้ลอีสต์นับเป็นตลาดใหญ่ของไทย มีทาร์เก็จในเรื่องของอีวี ซาอุดิอาระเบียเป็นตลาดใหญ่ที่เราส่งออก เขาตั้งเป้าไว้ที่ 30% ของยอดขายรถใหม่ อยากให้เป็นอีวี ทั้งนี้ในซาอุฯ เหมือนจะเป็นตลาดเดียวที่แพสเซนเจอร์คาร์เราโต แต่ปิกอัพลดลง
ภาพรวมการแข่งขันตลาดยานยนต์ในอาเซียนในยุค EV เข้ามามีบทบาท
ในภาพรวมไทยเราเป็นที่ 1 ของอาเซียน แต่มีการแข่งขันมากขึ้น อินโดฯเข้ามาแชร์เกือบทุกตลาด ทั้งแพสเซนเจอร์คาร์ และปิกอัพ ไทยต้องปรับตัวผู้ประกอบการให้แข็งแรงขึ้น ต้องโพรดักทิวิตี้ให้ดีขึ้น อัพสกิลตัวเองให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัว และการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น
ไทยแลนด์ ออโตโมทีฟ อินดัสตรี ประเทศไทยมี 30@30 มีตั้งแต่เฟส 1 เฟส 2 และเฟส 3 ตอนนี้กำลังโปรโมทเฟส 3 ผู้ซื้อรถ EV จะได้รับเงินอุดหนุนจากภาพรัฐ ทั้งนี้เป้าหมายของเฟส 3 คือจะผลิตรถ EV 30% เป็นจำนวน 725,000 คัน ภายในปี 2030
ถ้าเป็นไปตามเป้าหมาย ประเทศไทยผลิตรถอีวี 725,000 คัน ใช้ในประเทศครึ่งนึง หมายความว่าถ้าต้องการผลิตรถยนต์ในปี 2030 ให้ได้ 2,500,000 คัน ต้องส่งออกรถยนต์ที่เป็น ICE หรือ ICE ไฮบริด อย่างน้อยประมาณ 1,200,000-1,300,000 คัน หวังว่าจะทำได้ด้วยศักยภาพของผู้ประกอบการไทย
อย่างไรก็ตาม ไทยเรายังมี 70 ที่จะต้องเดินควบคู่กัน และเป็นฐานเป็นกำลังสำคัญของยานยนต์บ้านเราด้วย อาจต้องมองในเรื่องของการส่งออกที่เป็น Green ICE มากขึ้น คือเป็นไฮบริด เพราะเทรนด์ของโลกลดคาร์บอนมากขึ้นเรื่อยๆ
แม้ทุกประเทศจะตั้งเป้า BEV แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็น BEV 100% ภายใน 2030 ส่วนใหญ่มักจะมีทาร์เก็จในเรื่องของการลดคาร์บอนที่ปล่อยออกมาคาร์บอนต้องต่ำกว่า 100 Kg CO2 ทั้งนั้น ซึ่งจะไม่ใช่ ICE ปกติ อาจเป็น ICE ที่เป็นไฮบริด และอิเล็กทริคมากขึ้น อันนี้ก็เป็นโอกาสของไทย เนื่องจากว่าเรามีซัพพลายเชนที่ดีอยู่แล้ว
ทิศทางหรือเทคโนโลยียานยนต์ในอนาคตในอีก 10 ปี ข้างหน้า ไม่ได้ Zero Emission 100% เพราะมีคอนดิชั่นในเรื่องของความพร้อมของ Charging Station ของประเทศต่างๆ ไฟฟ้ามีเพียงพอไหม ผู้บริโภคยอมรับมากน้อยแค่ไหน ไม่ได้หมายความว่าทุกประเทศจะสามารถเป็น BEV ได้ 100% ตลาด ICE ยังมีอยู่ เพียงแต่ต้องสะอาดขึ้น
สิ่งที่เปลี่ยนไปใน Eco System อุตสาหกรรมยานยนต์ ในอดีตยานยนต์จะมี ICE อย่างเดียว จะเป็นเบนซิน ดีเซล แอลพีจี และเอ็นจีวี แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลากหลายมากขึ้น มองในมุมหนึ่งก็เป็นโอกาสมากขึ้น แน่นอนถ้าปรับตัวไม่ได้ ก็เป็นอุปสรรคให้กับเรามากขึ้นเหมือนกัน
จุดแข็งของไทยในตลาดยานยนต์ที่มีการแข่งขันสูง
ประเทศไทยมีจุดแข็งเยอะ โดยเฉพาะในเรื่องของ ICE ถ้าไม่มีเทคโนโลยี BEV เข้ามา จุดแข็งตรงนี้อยู่ได้ระยะยาว เพราะว่า ICE ไทยเรามีซัพพลายเชนเยอะ มีพาร์ทเยอะ มีส่วนประกอบเยอะ การเข้ามาของผู้เล่นรายใหม่ทำได้ยาก แต่พอมี BEV เหมือนเปิดซัตเตอร์ให้คนอื่นเข้ามามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไทยก็ยังได้เปรียบ เรามีดีมานด์ อินโดฯ ตลาดใหญ่ แต่ตลาดรถยนต์ไทยไม่ได้เล็ก อินโดฯ 1 ล้าน ไทยก็ 8 แสนคัน
จุดแข็งของไทยคือมีอินดัสเทรียลซัพพลายเชนที่ดี สามารถเชื่อมโยงเน็ตเวิร์กได้ดี และก็แข็งแรงมาก ๆ ถ้าใครจะแย่งตลาด ICE ของไทยก็ลำบาก เราสามารถใช้ Competitive Advantage สเตทอัพไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่เป็นกรีนไอซ์ หรือ อีวี็็ก็็็
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมุ่งสู่ sustainability มากขึ้น ต้องให้เครดิตภาครัฐที่ทำนโยบายส่งเสริม ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งที่ตลาดอีวีประสบความสำเร็จเกิดจากการสนับสนุนจากภาครัฐ แน่นอนภาคเอกชนต้องร่วมมือด้วย ประกอบการ ควอลีซี และคอมเพรสชั่นนิ่งของไทยถือว่าดี ไม่ค่อยไปมีเรื่องอะไรกับใคร ฉะนั้นใครตั้งฐานการผลิตที่ไทยถือว่ามีความมั่นคง
ในอนาคตอยากเห็นว่าไทยไม่ใช่แค่รับจ้างผลิตอย่างเดียว ถ้ามีการทำวิจัยและพัฒนาในบ้านเรามากขึ้น เชื่อว่าการย้ายฐานจะยากขึ้น ตอนนี้เราจะเห็นว่าเริ่มมีการทำวิจัยพัฒนา ก็อยากเชิญชวนคนที่ทำออโต้พาร์ทต่าง ๆ มาทำวิจัยและพัฒนา เชื่อว่าถ้าทำวิจัยและพัฒนาการย้ายฐานจะยากขึ้น ไม่ใช่แค่สกิลเลเบอร์ทำได้ดีเท่านั้น การมีส่วนร่วมในการพัฒนาน่าจะมีส่วนช่วยด้วย
สรุปต้องมีการแข่งขันเกิดขึ้น ขณะเดียวกันเราก็มีโอกาสที่ดี เนื่องจากไทยมีจุดแข็งในเรื่องของ ICE จริงๆ ทุกรัฐบาลสนับสนุนยานยนต์อยู่แล้ว เพียงแต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไรเท่านั้น คิดว่า EV และยานยนต์พลังงานใหม่น่าจะมา เห็นได้ว่ามีคู่แข่งเยอะขึ้น และแข่งขันรุนแรงมาก ๆ ไทยเราต้องทำให้ตัวเองแข็งแรงขึ้น ต้องอัพสกิล และรีสกิลตัวเองให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ทั้งการผลิต และเทคโนโลยีตัวโพรดักส์ ต้องมีการทำ R&D มากขึ้น
ตลาดยานยนต์ในอนาคตไม่ใช่แค่ 30@30 ไทยเรายังมี 70 ของ ICE ซึ่งยังเป็นโอกาสสำหรับเราอีกพอสมควร และ ICE ของประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนก็แย่งตลาดเรายาก แม้ว่าตลาดแพสเซนเจอร์คาร์ลดลง แต่ว่าก็ไปโตที่มิดเดิ้ลอีสต์ได้ ตลาดใหม่ๆ เราต้องเข้าไป เชื่อว่าเรื่องของ sustainability สำคัญ