X

ไม่ใช่ภาพลวงตา! “เอบีม คอนซัลติ้ง” ฟันธงความนิยมรถยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราว แนะ OEM เปลี่ยนด่วน

Last updated: 15 ม.ค. 2567  |  943 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความนิยมรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราว “เอบีม คอนซัลติ้ง” แนะซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นปรับตัว

ของจริง! “เอบีม คอนซัลติ้ง” เผยข้อมูลเชิงลึก ระบุความนิยมรถไฟฟ้าแบตเตอรี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ชั่วคราว แต่จะยิ่งพุ่งสูงในอนาคต แนะ OEM สร้างธุรกิจใหม่แยกจากเดิมโดยสิ้นเชิงเพื่อสร้างคอนเนคชันใหม่ ๆ กับซัพพลายเออร์จีน

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบัน และแนวโน้มยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีในประเทศไทยในงานสัมมนาออนไลน์ พร้อมแนะแนวทางปรับตัวสำหรับซัพพลายเออร์ด้านยานยนต์จากญี่ปุ่น

ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี (BEV) ในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำตลาดยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็นได้จากการที่มียานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีมากกว่า 75,000 คัน ขึ้นทะเบียนใหม่ในไทยในปี 2023 ความนิยมต่อยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างส่วนแบ่งตลาดแตะ 16% ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นเกือบ 10% เมื่อพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดตลอดทั้งปีที่ผ่านมา

ความนิยมที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากมาตรการ EV 3.0 ที่รัฐบาลประกาศเมื่อปี 2022 และจะหมดเขตการสนับสนุนภายในเดือนมกราคม 2024 นี้ พร้อมกับมีมาตรการ EV 3.5 ออกมารองรับเพื่อทดแทนมาตรการเดิมที่หมดเขตไป แม้ว่ามาตรการใหม่ที่ออกมารัฐจะให้เงินสนับสนุนต่อยานยนต์น้อยลง แต่ก็ยังสร้างแรงจูงใจมากพอในการกระตุ้นยอดขายยานยนตร์ไฟฟ้าแบตเตอรีในประเทศไทย

ในมุมมองของผู้ประกอบการธุรกิจ OEM ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากมาตรการสนับสนุนต่าง ๆ นี้มากที่สุดคือผู้ผลิต OEMs จากประเทศจีน ที่หลายบริษัทเลือกประเทศไทยเป็นตลาดหลักในการขยายธุรกิจภายนอกประเทศจีน และเป็นฐานการผลิตสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันผู้ผลิต OEMs จากประเทศจีนหลายรายกำลังอยู่ในกระบวนการจัดตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย ซึ่งเป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่าความนิยมต่อยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีในไทยไม่ใช่ปรากฎการณ์เพียงชั่วคราว และความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีในไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต



การเปลี่ยนไปใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีแทนรถยนต์เชื้อเพลิงสันดาปภายใน (ICE) และการแข่งขันในตลาดที่มากขึ้นอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้เล่นเดิมในห่วงโซ่อุปทานยานยนต์รู้สึกสั่นคลอน

“ประการแรกคือปัจจัยด้านส่วนประกอบรถยนต์เชื้อเพลิง (ICE) คิดเป็นต้นทุน 25% ของยานยนต์ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีไม่มีต้นทุนตรงนี้ ประการที่สองคือระบบส่งกำลังรถยนต์ของยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรีอาจมีราคาสูงกว่า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับซัพพลายเออร์ แต่อะไหล่อาจต้องนำเข้าจากประเทศจีนหรือผลิตโดยผู้เล่นรายใหม่ในไทย และอาจขยายไปสู่อะไหล่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบส่งกำลังรถยนต์อื่น ๆ ที่ผู้ผลิต OEMs รายใหม่ ๆ สามารถหาได้ในราคาถูกกว่าจีนหรือจากซัพพลายเออร์ที่มีอยู่ในปัจจุบันหากมีการตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย ปัจจัยดังกล่าวจะกลายเป็นปัญหาสำหรับซัพพลายเออร์รายปัจจุบัน โดยเฉพาะซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจเหนียวแน่นกับผู้ผลิต OEMs ญี่ปุ่น”

นาโอโตะ อุซูกะ ผู้บริหารระดับสูงและหัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายธุรกิจยานยนต์ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) กล่าวถึงแนวทางการปรับตัวของซัพพลายเออร์ญี่ปุ่น

เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้ผลิต OEMs จากประเทศจีน ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่ที่ได้คือความต้องการความคล่องตัว ความเร็ว และราคาที่น่าซื้อหามากขึ้น

 “ซัพพลายเออร์ญี่ปุ่นต้องเปลี่ยนวิธีการคิดถ้าอยากทำงานร่วมกับ ผู้ผลิต OEMs ที่ไม่ได้มาจากญี่ปุ่น ต้องคิดถึงการทำกำไรในระยะยาวให้มากขึ้น และต้องเพิ่มความยืดหยุ่น อย่างไรก็ดี การปรับวิธีการทำงานที่มีอยู่เดิมแล้วอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการสร้างธุรกิจใหม่ที่แยกจากเดิมโดยสิ้นเชิงเพื่อเน้นไปที่การสร้างคอนเนคชันใหม่ ๆ อาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการสร้างโครงสร้างทางวิสัยทัศน์ของธุรกิจ และจัดหาทีมงานที่สามารถสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิต OEMs จีน ซัพพลายเออร์จีน และกลุ่มบริษัทไทยเพื่อให้สร้างโอกาสทางธุรกิจในอนาคตให้ได้มากที่สุด” อุซูกะ กล่าวเสริม

ที่มา : เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย)



ที่มา: เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้