Last updated: 18 ธ.ค. 2566 | 875 จำนวนผู้เข้าชม |
อีวี ไพรมัส ตั้งคณะบอร์ดบริหาร เสริมทัพมืออาชีพ เสริมความแข็งแกร่งบริษัท เผย 3 วิสัยทัศน์หลัก สร้างธุรกิจประกอบและจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจให้เช่ายานยนต์ไฟฟ้า และธุรกิจให้เช่ายานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ประกาศทุ่ม 200 ล้าน ขึ้นไลน์ผลิตรถอีวีเต็มรูปแบบ
บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบบมัลติแบรนด์ (Multi-Brand EV Distributor) แห่งแรกของไทย และเป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์โวลท์ (Volt) และ วู่หลิง (Wuling) แต่ผู้เดียวในประเทศไทย (Sole Distributor) รุกสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง ด้วยการเชิญบอร์ดบริหารและมืออาชีพที่มีประสบการณ์ ร่วมพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านตลาดรถยนต์สันดาปภายในมาเป็นตลาดรถยนต์อีวี
นายพิทยา ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเริ่มมีผู้เล่นที่มากขึ้น มีการแข่งขันที่สูงขึ้น เนื่องด้วยเป็นตลาดที่เกิดใหม่ ผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอยู่เรี่อยๆ บริษัทจึงต้องพัฒนาตนเองให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ อีวี ไพรมัส จึงได้วางกลยุทธ์ใหม่ ๆ รุกตลาดอีวี รวมทั้งยกระดับให้มีความเป็นสากลมากขึ้นจึงมีการเชิญพันธมิตรและบอร์ดบริหารที่มีประสบการณ์เข้ามาร่วมพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ โครงสร้างการบริหารองค์กรชุดใหม่ บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด ประกอบด้วย
1. นายสุรพล สุประดิษฐ์ ประธานบอร์ด
2. นายแพทย์ฆนัท ครุธกูล รองประธานบอร์ด
3. นายพิทยา ธนาดำรงศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
4. นางสาวภัทร์ลดานันท์ ธนาวิชญะนันท์ กรรมการผู้จัดการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
5. นายเฉลิมศักดิ์ ศิริกุล ที่ปรึกษาคณะบอร์ด และ ผู้จัดการโรงงานประกอบ
6. มร. เฉิน เฉาจุน ตัวแทนกลุ่มบริษัท Lesso Group และ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาธุรกิจใหม่
คณะบอร์ดบริหารชุดใหม่ ได้พัฒนาแนววิสัยทัศน์ สร้างธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจได้แก่
นายสุรพล สุประดิษฐ์ ประธานบอร์ด บริษัทฯ กล่าวว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าปีนี้ได้มีการเติบโตก้าวกระโดด โดยเติบโตจากปีที่แล้วที่มียอดขาย 10,000 คัน มาเป็น กว่า 70,000 คันในช่วง 10 เดือนของปีนี้ คาดว่าสิ้นปีนี้ ยอดขายจะเติบโตไปถึง 80,000 – 90,000 คัน เป็นผลมาจากนโยบายการสนับสนุนการเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าของกรมสรรพสามิตที่เริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว
“จากนโยบายสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าของกรมสรรพสามิต รวมถึงการลงทุนของค่ายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนหลายค่าย ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจและเลือกใช้อีวีมากขึ้น สิ่งที่จะตามมาคือ Supply Chain ของรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยจะเกิดขึ้นอย่างมีนัยยะ ส่งเสริมให้ไทยอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซียนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างแน่นอน”
นายสุรพล กล่าวและเสริมว่าโอกาสของรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Compact และ City EV จะสดใสมากเพราะเป็นรถยนต์ที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่ ในราคาที่เหมาะสม ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ เหมาะสำหรับยุคเปลี่ยนถ่ายที่คนเริ่มเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
ทางด้านนายแพทย์ฆนัท รองประธานบอร์ด บริษัทฯ กล่าวเสริมว่า โอกาสของการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแค่การขายเท่านั้น แต่เป็นการประยุกต์เอารถยนต์ไฟฟ้ามาอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตจะเปรียบเสมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ทุกบ้านจะต้องมีในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในสังคมแบบ Sharing Economy ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งอาจจะไม่นิยมการซื้อทรัพย์สินอย่างรถยนต์ไฟฟ้า แต่จะวางแผนทางการเงินด้วยการเช่าใช้แทน การถือครองรถยนต์ในยุคใหม่จะมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น อีวี ไพรมัส จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ด้วยการสร้าง Business Model ที่เปิดให้ลูกค้าใช้รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทในลักษณะเช่าใช้ ซึ่งจะมีทั้งแบบ B2C และ B2B เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจได้อย่างตรงจุด
“Business Model ของ B2C แบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บุคคลทั่วไปและนักท่องเที่ยวที่เน้นการเช่าระยะสั้น ๆ รถประเภท Compact และ City EV มีข้อได้เปรียบเรื่องราคา อีกทั้งพฤติกรรมลูกค้ากลุ่มนี้เน้นการขับระยะสั้น ๆ เท่านั้น ทั้ง VOLT CITY EV และ WULING AIR EV มีราคาที่ต่ำกว่ารถสันดาปครึ่งหนึ่ง ทำให้สามารถกดราคาค่าเช่าให้เป็นทางเลือกที่ดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้อย่างมาก ที่สำคัญคนรุ่นใหม่เล็งเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม Solution นี้จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด”
นายแพทย์ฆนัท กล่าวอีกว่าในส่วนของยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่จะให้เช่าใช้แบบ B2B นั้น ขณะนี้ อีวี ไพรมัส อยู่ระหว่างการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ที่มีระบบ Battery Swap เพื่อลดต้นทุนการขนส่งของธุรกิจพร้อม ๆ กับการไม่ต้องจอดรอชาร์จ ซึ่งถือเป็นการแก้ Paint Point ของธุรกิจในสาขาต่าง ๆ ที่กำลังประสบปัญหาค่าขนส่งที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ด้านนายเฉลิมศักดิ์ ที่ปรึกษาคณะบอร์ดและผู้จัดการโรงงานประกอบ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ อีวี ไพรมัส กำลังดำเนินการสร้างไลน์ผลิตในโรงงานประกอบรถยนต์ของบริษัทฯ ให้เสร็จพร้อมประกอบรถยนต์ไฟฟ้าป้อนให้กับตลาดประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของการขอรับเงินสนับสนุนจากกรมสรรพสามิต โรงงานประกอบจะตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในเขตประกอบการเสรี ด้วยงบประมาณการลงทุนมากกว่า 200 ล้านบาท และมีกำลังการผลิต 6,000 คันต่อปี โดยจะเริ่มต้นประกอบ 2 แบรนด์คือ VOLT CITY EV และ WULING และในอนาคตจะประกอบรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์อีกด้วย
“โรงงานนี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่เช่าที่อยู่ในเขตปลอดอากรใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ซึ่งเหมาะสำหรับใช้เป็นฐานการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปในอนาคต โรงงานแห่งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก SGMW บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า WULING ในการออกแบบไลน์ประกอบ ไลน์ทดสอบคุณภาพ ทำให้เราได้เป็นโรงงานประกอบอย่างเป็นทางการของ SGMW ที่มีระบบบริหารจัดการและควบคุมคุณภาพในระดับสากล ทั้งยังทำให้มีโอกาสส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าประกอบสำเร็จจากประเทศไทยไปต่างประเทศอีกด้วย” นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว
นางสาวภัทร์ลดานันท์ กรรมการผู้จัดการ และ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดกล่าวว่าการทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของ อีวี ไพรมัส ภายใต้แบรนด์ VOLT CITY EV และ WULING ได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด โดยเฉพาะ Segment ของ Compact และ City EV ที่ยังมีช่องว่างให้ อีวี ไพรมัส เป็นผู้ทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กแต่เพียงผู้เดียว รถทั้งสองแบรนด์นี้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อเป็นคันที่ 2 หรือคันที่ 3 ของบ้านและนำรถไปใช้ในชีวิตประจำวันที่เดินทางระยะสั้น ๆ เพื่อทำธุระประจำวัน เช่น ไปตลาดหรือห้างสรรพสินค้า ไปรับส่งลูกไปโรงเรียน เป็นต้น
“ในการสื่อสารทางการตลาดของแบรนด์ VOLT และ WULING นั้น ไม่ได้วางตำแหน่งตนเองเป็น Economic Choice แต่เป็น Smart Choice ของผู้ต้องการเข้าสู่โลกยานยนต์ไฟฟ้า และต้องการแสดงวิถีชีวิตที่แตกต่าง ซึ่งลูกค้าของเราส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มคนที่ทันสมัย มีรายได้สูง มีความต้องการเข้าถึงเทคโนโลยีและอยากใช้ อีวี แบบ Smart Usage ที่เป็นรถเสริมที่อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน”
นางสาวภัทร์ลดานันท์ กล่าวถึง SGMW หรือ WULING นั้น เป็นผู้นำยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Compact และ City EV ในจีนและเป็นผู้ริเริ่มในการปฏิวัติยานยนต์ไฟฟ้าในจีน เมื่อหลายปีที่แล้ว ด้วยการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กในราคาจับต้องได้ ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนสามารถเข้าถึงรถยนต์ไฟฟ้าได้ง่ายและกวาดยอดขายในประเทศจีนไปมากกว่า 2 ล้านคันในหลายปีที่ผ่านมา ซึ่ง WULING AIR EV ถือเป็นรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ 3 ที่พัฒนามาจากรุ่นก่อน ๆ ที่เน้นคุณภาพและรูปลักษณ์ที่ทันสมัย ทำให้ยอดขาย WULING AIR EV ในประเทศไทยทะลุ 1,000 คันในช่วงระยะเวลาเพียง 4 เดือนของการเปิดตัว
“เรายืนยันว่าจะดูแลลูกค้ากว่า 1,000 คันนี้ให้ดีที่สุดเพื่อให้เกิดกระแสแบบปากต่อปาก ซึ่งจะส่งผลระยะยาวกับแบรนด์ WULING ในประเทศไทย ในปีหน้าเราจะจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ให้เข้มข้นขึ้น เพื่อตอกย้ำกลยุทธ์การบอกต่อจากลูกค้าที่ใช้จริง รวมถึงการขยายเครือข่ายผู้จำหน่ายให้มากขึ้นให้เกิดความพึงพอใจในสินค้าและบริการของ WULING ซึ่งจะส่งผลต่อแบรนด์ให้แข็งแรงและเติบโตในระยะยาว” นางสาวภัทร์ลดานันท์ กล่าว
นายพิทยา กล่าวเสริมว่าในอนาคต อีวี ไพรมัส จะยังคงให้ความสำคัญกับการนำรถ WULING รุ่นใหม่ ๆ เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายฐานลูกค้าของ WULING ให้กว้างขึ้นโดยได้มีการเจรจากับ SGMW แล้วว่าภายใน 3 ปีข้างหน้า อีวี ไพรมัส จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า WULING เพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 3 รุ่นเพื่อให้ WULING สามารถเป็นผู้นำในตลาด Compact และ City EV ได้อย่างแท้จริง
ทางด้านนายเฉิน เฉาจุน ผู้แทนจากกลุ่มบริษัท Lesso Group และ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาธุรกิจใหม่ กล่าวถึง Lesso Group ว่าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ฮ่องกง และเป็นผู้นำทางด้านการผลิตท่อน้ำ PVC และ แผงโซลาร์เซลล์ อุปกรณ์ชาร์จไฟรถยนต์ไฟฟ้าและ Power Storage ระดับแนวหน้าของประเทศจีน ซึ่งธุรกิจของ อีวี ไพรมัส ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ WULING ให้เป็นผู้นำรถยนต์ไฟฟ้าจากประเทศจีน จึงทำให้ Lesso Group มีความสนใจร่วมธุรกิจกับ อีวี ไพรมัส ด้วยเงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท ทั้งนี้เพราะกลยุทธ์ระยะยาวของ อีวี ไพรมัส มีความสอดคล้องกับธุรกิจที่ Lesso Group ตั้งใจจะทำในภูมิภาคอาเซียน”
นายเฉิน เฉาจุน กล่าวต่อด้วยว่า “ธุรกิจของ Lesso Group มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่สอดคล้องกับแนวธุรกิจของ อีวี ไพรมัส ซึ่งสินค้ามีส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถเดินหน้าไปกับธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าได้ อย่างเช่นแผงโซลาร์ เซลล์ และชุด Power Storage ติดตั้งในโรงงานหรือที่จอดรถ เพื่อชารจ์ไฟให้รถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิขย์ จะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งให้ธุรกิจได้ ดังนั้น Lesso Group ได้เล็งเห็นโอกาสและศักยภาพในการขยายตลาดเข้าสู่ตลาดประเทศไทยโดยการร่วมมือกับ อีวี ไพรมัส ซึ่งสามารถสร้าง Concept ของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และการสำรองไฟผ่าน Power Storage ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัยหรือโรงงาน และนำไฟฟ้ากลับมาใช้ได้เมื่อต้องการ ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานและลดต้นทุนให้คนไทยได้เป็นอย่างดี”
ที่มา: 24 คูณ 7